ครั้งหนึ่งฉันเคยเป็นนักโต้วาที | I once was a debater
วันนี้ได้มีโอกาสกลับมาเขียนบล็อกอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายไปนาน (มาก)
หันมาจับปากกาเขียนอีกครั้งเพราะเมื่อสองวันที่ผ่านมา มีน้องนักเรียนเกรด 11 โรงเรียนแห่งหนึ่งติดต่อมาว่า
“พี่อลิสรับสอนดีเบทไหมครับ พอดีผมกำลังจะจัดตั้งชมรมโต้วาที (Debate Club) ที่โรงเรียน เลยอยากหาโค้ช Debate ครับ พี่สนใจไหมครับ”
เราตอบกลับอย่างไม่ลังเลว่า
“สนใจค่ะ”
เหตุผลที่ตอบกลับได้อย่างรวดเร็วทันใจโดยไม่ต้องคิดเลยเพราะว่า ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว Debate เป็นกิจกรรมที่เป็นเหมือนชีวิตจิตใจของเราเลยทีเดียว
สมัยตอนเรียนอยู่เตรียมอุดมฯ เราจะขลุกตัวอยู่ห้องหมวดภาษาอังกฤษหลังเลิกเรียนเพื่อซ้อมโต้วาทีกับเพื่อน ๆ และรุ่นพี่นักโต้วาที เคยร่วมหัวจมท้าย กอดคอไปแข่งการแข่งขันมากมายทั้งในและต่างประเทศ ที่ไปแข่งแล้วแพ้กลับมาร้องไห้ขี้มูกโป่งก็มีอยู่สองสามครั้ง เมื่อมองย้อนกลับไป เราในเวอร์ชั่นวัยรุ่นก็เปราะบางใช่ย่อย (ขำฮ่า ๆ ๆ) เพื่อนหลายคนสมัยนั้นที่ร้องไห้แล้วเลิก Debate ไปเลยก็มี
แต่ทั้งนี้ ดีเบทเป็นกิจกรรมที่เราสนุกกับมันมาก เราชอบดีเบทเพราะ…
ทุกครั้งที่ไปโต้วาทีเหมือนได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ช่วงนั้นเราตามอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อจะได้ทันข่าวสาร ภาษาอังกฤษตอนนั้นไม่แข็งเลยยยยยยย (ย ยักษ์ 50 ตัว) แต่ก็ดั้นด้นทนอ่าน New York Times กับ The Economist เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง สมัยนั้นคือซื้อหนังสือพิมพ์พวกนี้มานั่งอ่านจริงจัง เพราะ mobile subscription ยังไม่ดีเท่าตอนนี้ นี่เสียดายที่ยุคนั้น YouTube ยังไม่เฟื่องฟู ไม่งั้นคงได้เรียนรู้จากการฟังและดูด้วย
นอกจากนี้ ยังได้เข้าใจ concept ต่าง ๆ ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน เช่น Rights, Philosophy, Ethics, Morality, Philosophy, และอื่น ๆ อีกมากมายนักโต้วาทีต้องทำความเข้าใจประเด็นทั้งสองฝ่าย นักโต้วาทีที่เก่งไม่ใช่คนที่เถียงเก่งแต่ฝั่งตัวเอง แต่ต้องโต้ตอบหรือ Engage กับฝั่งตรงข้ามด้วย ในศัพท์โต้วาที เทคนิคนี้เรียกว่าการ Rebut ซึ่งเหมือนการตอบข้อโต้แย้ง ถ้าทีมคู่แข่งแย้งเรามา เราต้องสามารถแย้งกลับได้อย่างมีเหตุและผล ไม่งั้นจะถือว่าเคสของทีมเราไม่รัดกุม มีช่องโหว่ที่โดนโจมตีได้ง่าย อาจถูกกรรมการหักคะแนนได้
นักโต้วาทีจะคิดเร็ว ก่อนที่จะเริ่มแข่งแต่ละครั้ง เรามีเวลาเตรียมตัวแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ในครึ่งชั่วโมงนี้ เราต้องใช้เวลาให้คุ้มค่า ต้องคิดหลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน ทั้งเขียนเคสของเราเอง ช่วยเพื่อนคิด และเตรียมข้อโต้แย้ง นอกจากนี้ เวลาขึ้นไปพูด ก็ต้องคอยคิดว่าเราจะแย้งทีมคู่แข่งอย่างไรด้วย ทั้งหมดนี้เราต้องคิดให้ทันท่วงที
การที่เราเป็นนักโต้วาทีทำให้เราได้ฝึกวิเคราะห์ เราต้องฝึกคิดให้ทะลุปรุโปร่งจากหลายมุมมอง สมมติหัวข้อโต้วาทีคือ เราควรเปิดให้ประเทศไทยมีการเล่นพนันได้อย่างถูกกฎหมาย เราก็ควรมองจากหลายมุม เช่น มุมมองของนักพนัน ธุรกิจบ่อน ธุรกิจพ่วงกับบ่อน รัฐ สังคม เป็นต้น
ได้เพื่อนใหม่ นักโต้วาทีจะได้เดินทางไปที่ใหม่ ๆ เพื่อไปแข่งขันเสมอ ทำให้เราได้มีเพื่อนใหม่จากต่างโรงเรียน ต่างมหาวิทยาลัย ต่างประเทศ ตอนนี้หลายคนที่รู้จักจากการโต้วาทีก็ยังคุยด้วยเสมอ ไปประกอบสาขาวิชาดี ๆ มากมาย ทั้งนักการทูต เจ้าของธุรกิจ นักวิชาการ นักข่าว ฯลฯ วัยเด็กตอนนั้นสนุกมากจริง ๆ
ทักษะที่ได้จากการโต้วาทีช่วยให้นักโต้วาทีเป็นคนเปิดกว้าง พร้อมรับฟังความเห็นที่แตกต่าง สามารถทำความเข้าใจเรื่องใหม่ ๆ ได้อย่างฉับไว
วันนี้ เลยถือโอกาสระลึกความหลัง กลับไปเสิร์ชอีเมล์เมื่อสิบปีที่แล้วเพื่อหา Essay ที่เราเขียนสมัครมหาวิทยาลัยอเมริกาสมัยนั้น จนได้ติดเข้าเรียนมหาวิทยาลัย Brown University ในที่สุด
Essay นี้เราเลือกหัวข้อเกี่ยวกับบุคคลสำคัญในชีวิตของเรา ซึ่งเราเลือกอาจารย์ Mark Jacobsen ครูใจดีที่เป็นคนสอนการโต้วาทีให้กับเรา จนถึงทุกวันนี้ เราก็คุยกับเขาตลอด
เชิญอ่านกันได้เลยค่ะ
Common Application Essay Topic: Indicate a person who has had a significant influence on you and describe that influence
Submitted: December 31, 2010
As I scanned the topics for my application essay, my eyes found this one. Suddenly, a picture of Mr. Mark, my former debate coach, popped up in my head, with that picture came a flashback of our exotic trip with the Thailand National Team to the World Schools Debate Championship 2010 (WSDC) in Qatar. The memories of a great moment rushed in, and I could see myself riding a camel in a sunny breezy desert, traveling the gleaming economic center of Doha, scrutinizing ornate historical relics at the Museum of Islamic Arts, trying Lebanese food, and, above all, watching, not debating, rounds of great debates.
For two years, debating had been my life. I was the President of my school’s Debate Club, and Mr. Mark was the coach. Our team had taken a leading role in building Thailand’s recently-established high school debate society. Many new schools were introduced to debating at our tournaments and went back to start their own debate clubs. With every opportunity I had, I would debate with all of my passion. The focus of my dream was to be on the National Team: the greatest honor for my debating career and the opportunity to represent my country on the world’s stage. During the tryout, I felt that I did well. I was confident that I would get through. It was a profound disappointment when I was not selected to be a Thailand National Team member for the 2010 WSDC, not even a runner-up.
Crushed, I decided to quit debating. I was hurt. I couldn’t eat. I woke up feeling hollow. I stopped believing in myself. With my voice shaking and tears on my face, I called Mr. Mark and told him that I would quit. My dream had died, and my best efforts were meaningless. However, my debate coach said, “I am proud of how much you have accomplished so far. This is the time for you to sit back, relax and enjoy.” Mr. Mark, the national team’s Assistant Coach, suggested I still go with the team as an observer. I could hang out in the Middle East, cheer up my National Team friends, and scout the opposition. Trusting his judgment, I decided to go to Doha. When I first arrived, I was intimidated by all the World Schools debaters who had been chosen to represent their countries. Worst of all, I felt inferior. However, it soon became clear to me that the line I drew between myself and others did not exist.
During the debates, I saw mistakes. The World Schools debaters were not that much different from me. They had all fought to be here, and so had I. As a Thai student from a public school and a Thai-speaking family, I had been an EFL Champion from the 1st Asian Schools Debate Championship. I had been a top ten best speaker in almost every tournament. I was, and still am, the President of the largest debate club in Thailand. I no longer saw World Schools debaters as unearthly geniuses, but individuals who were fun to be with. As I played Truth-or-Dare and Uno with my friends from the Philippines, Netherlands, and South Korea, it did not matter whether or not I had been selected. This was a place that I fit in.
Sometime during WSDC 2010, Mr. Mark told me that he would be leaving my school soon. The man who had taught me so much and brought me so far was leaving me.
“What will become of our Club? Who will be our coach?”
“You are the leader,” answered my debate coach.
Half a year has gone by since Mr. Mark left. I now lead my school’s Debate Club. Debating has taught me to learn from defeat -- a valuable lesson I am eager to share with the new coming debaters. I find myself repeating the lessons about speakers’ roles to the new debaters so that they can use them instinctively, just as Mr. Mark did to me. I continue to promote and run the Bangkok High Schools Debate League that we set up. I accompany my team to tournaments as their coach and cheer the rookie team up when they lose by an appallingly clear margin. (“It is a great learning experience for you to meet such good teams!”) Three months ago, I contacted Mabrouq, a great friend and a three-time champion of the EU-Thailand National Inter-Varsity Debate Championship, to be our coach. Our team went undefeated throughout this year’s Thailand High Schools Debating Championship and became the National Champion. Above all, I am finally selected to be a Thailand National Team member for World Schools Debate Championship 2011 in Scotland.
I still call Mr. Mark to tell the stories of what is going on in the Triam Udom Debate Club. He listens, laughs, and gives me advice. I can now tell him how grateful I am that he took me to Doha, a place that was to me a major eye-opener. In every training and tournament we go, I think of my good coach. A good coach does not only say that he is proud of you; he shows you why. I went to Qatar as an observer, but came back as a leader.
ปัจจุบัน เราสอน Public Speaking และ Debate ที่ Coach Alisa โดยนักเรียนของเรามีตั้งแต่รุ่นจิ๋ว 10 ขวบ จนถึงนักศึกษามหาวิทยาลัย เราอยากเห็นเยาวชนมีมุมมองโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง มีความรู้รอบตัว และรู้จักการคิดวิเคราะห์แยกแยะ ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เยาวชนเป็นพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกใบนี้
เราอยากให้เขาได้มีโอกาสเปิดโลกเหมือนเรา เหมือนที่ครั้งหนึ่ง การโต้วาทีได้มอบโอกาสนี้ให้กับเรา
Photo credits: Sumo Iamudom, Friends from Thailand National Debate Team, Prodpran W. and Friends from English Gifted Program - Triam Udom